วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

           คำถาม: สังเกตุได้ว่า ในโรงพยาบาลชะอวดมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น เกิดจากสาเหตุใดมากกว่ากัน ระหว่างการรับประทานอาหารหรือสภาพอากาศที่แปรปรวน เพราะอะไร?                                                        

                              สุขภาพ

                                              
สาเหตุ:ในอดีตคำว่า สุขภาพ หมายถึง สุขภาพกายเป็นหลัก ต่อมาจึงได้กล่าวถึงสุขภาพจิตร่วมไปด้วย เพราะเห็นว่าคนที่มีสุขภาพกายสมบูรณ์แข็งแรง แต่สุขภาพจิตเสื่อมโทรมหรือเป็นโรคจิตก็ไม่สามารถดำเนินชีวิตเป็นปกติสุขได้ ซ้ำร้ายอาจจะทำร้ายผู้อื่นได้อีกด้วย
        ปัจจุบัน คำว่า สุขภาพ มิได้หมายเฉพาะสุขภาพกายและสุขภาพจิตเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงสุขภาพสังคม และสุขภาพศีลธรรมอีกด้วย
        สรุปว่าในความหมายของ "สุขภาพ" ในปัจจุบันมีองค์ประกอบ 4 ส่วน ด้วยกันคือ
        1. สุขภาพกาย หมายถึง สภาพที่ดีของร่างกาย กล่าวคือ อวัยวะต่างๆอยู่ในสภาพที่ดีมีความแข็งแรงสมบูรณ์ ทำงานได้ตามปกติ และมีความสัมพันธ์กับทุกส่วนเป็นอย่างดี และก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน
        2. สุขภาพจิต หมายถึง สภาพของจิตใจที่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ มีจิตใจเบิกบานแจ่มใส มิให้เกิดความคับข้องใจหรือขัดแย้งในจิตใจ สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุข
        3. สุขภาพสังคม หมายถึง สภาวะที่ดีของปัญญาที่มีความรู้ทั่ว รู้เท่าทันและความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดีความชั่ว ความมีประโยชน์และความมีโทษ ซึ่งนำไปสู่ความมีจิตอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
        4. สุขภาพศีลธรรมหมายถึง บุคคลที่มีสภาวะทางกายและจิตใจที่สุขสมบูรณ์ สามารถปฏิสัมพันธ์และปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดีและมีความสุข
        องค์ความรู้ด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตมีสั่งสมไว้มากพอสมควร และเรามีระบบบริการสุขภาพที่ทำงานได้ผลดีทีเดียว แต่เราขาดการศึกษาสุขภาพสังคมและสุขภาพศีลธรรมอย่างเป็นระบบและเชื่อมโยงหากทำได้เราจะจัดการกับสุขภาพสังคมและสุขภาพศีลธรรมได้ดีกว่านี้
        ที่จริงทางตะวันออกและโดยเฉพาะในบริบทของวัฒนธรรมไทย ก็มีเนื้อหาความรู้และข้อปฏิบัติไว้มากมาย เพียงแต่ "นักวิชาการสุขภาพ" ยังมิได้จัดเป็นระบบและเชื่อมโดยจริงจัง
        ตัวอย่างเช่น ในเรื่องสุขภาพสังคม หากเรานำเอาวิถีชีวิต มารยาท ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมไทย มาพูดจากันอย่างจริงจัง และนำเข้าไปอยู่ในระบบอบรมเลี้ยงดู และระบบการศึกษา รวมทั้งระบบบริการสุขภาพด้วยก็จะเกิดประโยชน์
        หรือในเรื่องสุขภาพศีลธรรม เราก็มีศาสนธรรมพร้อมสรรพ ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธคริสต์ อิสลาม ฮินดู-พราหมณ์ หรือสิกข์
        หรือปรัชญาขงจื้อที่คนไทยเชื้อสายจีนยึดถือเป็นแนวทางชีวิตล้วนแต่มีคุณค่ามหาศาลที่เราควรนำไปสั่งสอนลูกหลานหรือลูกศิษย์และ
เป็นองค์ประกอบสำคัญของการศึกษาและการสาธารณสุขของประเทศ
ที่มา:http://pirun.ku.ac.th/~b5310303201/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.html 
                  

ความหมายและความสำคัญของสุขภาพอนามัย

สุขภาพคือ ภาวะแห่งความสมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ และการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมด้วยดี ไม่ใช่เพียงแต่ความปราศจากโรค หรือทุพพลภาพเท่านั้น (องค์การอนามัยโลก , 2491)

จาก คำจำกัดความนี้ แสดงให้เห็นว่า ภาวะของความไม่มีโรคหรือไม่บกพร่องยังไม่ถือว่ามีสุขภาพ แต่สุขภาพมีความหมาย เชิงบวกที่เน้นความเป็นอยู่ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม นั่นคือ ต้องมีสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพทางสังคมครบทุกด้าน


ก่อน พ.ศ. 2500 เราใช้คำว่าสุขภาพน้อยมาก เพราะขณะนั้นเราใช้คำว่า อนามัย เริ่มใช้ สุขภาพ แทน ในสมัยต่อมาก็เนื่องจากคำว่า อนามัย(อน + อามัย) ซึ่งตามรูปทรัพย์หมายถึง "ความไม่มีโรค" ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วเห็นว่าสุขภาพมีความหมายกว้างกว่าอนามัย เพราะสุขภาพเป็นความสุข เป็นความหมายเชิงบวก ตรงข้ามกับอนามัยเป็นความทุกข์ซึ่งมีความหมายเชิงลบ
แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพในอนาคตอาจจะปรับเปลี่ยนไปจากนี้ได้ เนื่องจากในที่ประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2541 ได้ตกลงว่าจะเติมคำว่า “Spiritual Well-being” เข้าไปใน คำจำกัดความของคำว่าสุขภาพ
นิยามคำว่าสุขภาพแบบไทย ควรเพิ่ม “Intellectual Well-being” เข้าไปอีกด้วย โดยมีแนวความคิดสุขภาพก็คือ สุขภาวะ หรือ Well-being ความสุข คือ ความเป็นอิสระหรือการหลุดพ้นจากความบีบคั้น ดังนั้น สุขภาพคือสุขภาวะหรือความเป็นอิสระหลุดพ้นจากความบีบคั้นทางกายทางจิต ทางสังคม และทางปัญญา 
สุขภาพกาย หมายถึง สภาพของร่างกายที่มีความเจริญเติบโต แต่พัฒนาการสมกับวัย สะอาด แข็งแรง สมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และทุพพลภาพ พร้อมทั้งมีภูมิคุ้มกันโรคหรือความต้านทานโรคเป็นอย่างดี
สุขภาพจิต หมายถึง ความสามารถในการปรับตัวของคนเราให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันรวมทั้งสถานการณ์ในอดีตและอนาคตด้วย
ดังนั้นสุขภาพ หมายถึง ภาวะของการดำรงชีวิตที่มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจรวมทั้งการอยู่ร่วมกันในสังคมได้ด้วยดี อยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม และการใช้สติปัญญา
สุขภาพกาย 

สุขภาพจิต สุขภาพกาย ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี ประโยชน์ของการมีสุขภาพจิตดี สุขภาพกายและสุขภาพจิตของคนย่อมมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น เด็กที่มีความบกพร่องทางกาย เช่น หูตึง หรือสายตาสั้น อาจได้รับความลำบาก ในการปรับตัว เด็กที่มีโรคประจำตัวบางอย่างมักมีอารมณ์หงุดหงิด ทำตัวให้เข้า กับเพื่อนฝูงได้ยาก เด็กประเภทนี้จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ มิฉะนั้นสุขภาพจิตของเด็กก็มีหวังเสื่อมทรามลงไปได้มาก ๆ คนที่ขาดสุขภาพจิตมักมีสุขภาพกายเสื่อมลงไปด้วย เด็กที่เสียสุขภาพจิต ถ้าเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาก็มักเจ็บป่วยมาก กล่าวคือ เด็กจะเสียกำลังใจและตีโพย ตีพายไปเกินกว่าเหตุ อาการเจ็บป่วยธรรมดาอาจเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น กำลังใจของคนไข้เป็นส่วนประกอบอันสำคัญในการที่จะรักษาโรคให้ได้ผล ถ้าคนไข้เป็นคนขาดสุขภาพจิตแล้วก็จะทำให้การรักษาโรคลำบากยิ่งขึ้น ร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดถ้าร่างกาย เกิดผิดปกติก็จะทำให้จิตใจผิดปกติไปไม่มากก็น้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมด้วย ในทางกลับกัน ถ้าสุขภาพจิตไม่ดีก็จะมีผลให้สุขภาพกายเปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้เกิดโรคทางกายได้ ผู้ที่มีอารมณ์หวั่นไหว วิตกกังวล หรือเครียด อาจจะมีอาการท้องเดิน เมื่อเกิดความกลัวก็อาจจะมีอาการปวดศีรษะ หรือเกิดอารมณ์ทางกายอื่น ๆ เมื่อเราตื่นเต้นตกใจก็จะทำให้การหายใจเร็วขึ้น ตัวสั่น เป็นต้น ดังนั้น การที่คนเราจะมีร่างกายที่สมบูรณ์ได้ก็ควรจะต้องมีอารมณ์อยู่ในภาวะ ที่สมบูรณ์ด้วย จากความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดของร่างกายและจิตใจนี้ จึงมีผู้กล่าวว่า จิตใจที่แจ่มใสย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์
ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี 
สุขภาพจิต สุขภาพกาย ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี ประโยชน์ของการมีสุขภาพจิตดี 
ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีมีลักษณะหลายประการ ดังนี้ 
1. เป็นผู้ที่มีความสามารถและความเต็มใจที่จะรับผิดชอบอย่าง 
เหมาะสมกับระดับอายุ 
2. เป็นผู้ที่มีความพอใจในความสำเร็จจากการได้เข้าร่วม 
กิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม โดยไม่คำนึงว่าการเข้าร่วมกิจกรรมนั้น 
จะมีการถกเถียงกันมาก่อนหรือไม่ก็ตาม 
3. เป็นผู้เต็มใจที่จะทำงานและรับผิดชอบอย่างเหมาะสมกับบทบาท 
หรือตำแหน่งในชีวิตของเขา แม้ว่าจะทำไปเพื่อต้องการตำแหน่งก็ตาม 
4. เมื่อเผชิญกับปัญหาที่จะต้องแก้ไข เขาก็ไม่หาทางหลบเลี่ยง 
5. จะรู้สึกสนุกต่อการขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางต่อความสุขหรือ 
พัฒนาการ หลังจากที่เขาค้นพบด้วยตนเองว่า อุปสรรคนั้นเป็นความจริง 
ไม่ใช่อุปสรรคในจินตนาการ 
6. เป็นผู้ที่สามารถตัดสินใจด้วยความกังวลน้อยที่สุด มีความรู้สึกขัดแย้งในใจและหลบหลีกปัญหาน้อยที่สุด 
7. เป็นผู้ที่สามารถอดได้ รอได้ จนกว่าจะพบสิ่งใหม่ หรือ 
ทางเลือกใหม่ที่มีความสำคัญหรือดีกว่า 
8. เป็นผู้ที่ประสบผลสำเร็จด้วยความสามารถที่แท้จริง 
ไม่ใช่ความสามารถในความคิดฝัน 
9. เป็นผู้ที่คิดก่อนทำ หรือมีโครงการแน่นอนก่อนที่จะปฏิบัติ ไม่มีโครงการที่ถ่วงหรือหลีกเลี่ยงการกระทำต่าง ๆ 
10. เป็นผู้ที่เรียนรู้จากความล้มเหลวของตนเองแทนที่จะหา ข้อแก้ตัวด้วยการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง หรือโยนความผิดให้แก่คนอื่น 
11. เมื่อประสบผลสำเร็จ ก็ไม่ชอบคุยโอ้อวดจนเกินความเป็นจริง 
12. เป็นผู้ที่ปฏิบัติตนได้สมบทบาท รู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไรเมื่อถึงเวลา 
ทำงาน หรือจะปฏิบัติอย่างไรเมื่อถึงเวลาเล่น 
13. เป็นผู้ที่สามารถจะปฏิเสธต่อการเข้าร่วมกิจกรรมที่ใช้เวลา 
มากเกินไปหรือกิจกรรมที่สวนทางกับที่เขาสนใจแม้ว่ากิจกรรมนั้นจะทำให้ 
เขาพอใจได้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งก็ตาม 
14. เป็นผู้ที่สามารถตอบรับที่จะเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ 
สำหรับเขา แม้ว่ากิจกรรมนั้นจะไม่ทำให้เขาพึงพอใจก็ตาม 
15. เป็นผู้ที่จะแสดงความโกรธออกมาโดยตรง เมื่อเขาได้รับ 
ความเสียหายหรือถูกรังแก และจะแสดงออกเพื่อป้องกันความถูกต้อง 
ของเขาด้วยเหตุด้วยผลการแสดงออกนี้จะมีความรุนแรงอย่างเหมาะสม 
กับปริมาณความเสียหายที่เขาได้รับ 
16. เป็นผู้ที่สามารถแสดงความพอใจออกมาโดยตรงและจะแสดงออก อย่างเหมาะสมกับปริมาณและชนิดของสิ่งที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ 
17. เป็นผู้ที่สามารถอดทน หรืออดกลั้นต่อความผิดหวัง และ 
ภาวะความคับข้องใจทางอารมณ์ได้ดี 
18. เป็นผู้ที่มีลักษณะนิสัยและเจตคติที่ก่อรูปขึ้นอย่างเป็นระเบียบ 
เมื่อเผชิญกับสิ่งยุ่งยากต่าง ๆ ก็สามารถจะประนีประนอมนิสัยและเจตคติ 
เข้ากับสถานการณ์ที่ยุ่งยากต่าง ๆ ได้ 
19. เป็นผู้ที่สามารถระดมพลังงานที่มีอยู่ในตัวออกมาใช้ได้อย่างทันที 
และพร้อมเพรียง และสามารถรวมพลังงานนั้นสู่เป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง 
เพื่อความสำเร็จของเขา 
20. เป็นผู้ที่ไม่พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงความจริงซึ่งชีวิตของเขา จะต้องดิ้นรนต่อสู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่เขาจะยอมรับว่าบุคคลจะต้องต่อสู้ 
กับตนเอง ฉะนั้นเขาจะต้องมีความเข้มแข็งให้มากที่สุด และใช้วิจารณญาณ 
ที่ดีที่สุด เพื่อจะผละจากคลื่นอุปสรรคภายนอก 
ที่มา:http://we-are-healthy.exteen.com/20080206/entry
 สุขภาพคืออะไร...?
             สุขภาพ” มีความหมาย 3 ประการ คือ ความปลอดภัย (Safe) ความไม่มีโรค (Sound) หรือทั้งความปลอดภัยและไม่มีโรค (Whole) ดังนั้น ความหมายของคำว่า “สุขภาพ” จึงหมายถึง ความไม่มีโรคทั้งร่างกายและจิตใจ (Soundness of or mind) 
            องค์กรอนามัยโลกได้ให้คำนิยามคำว่า “สุขภาพ”ในความหมายที่กว้างขึ้นว่า หมายถึง สุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต และทางสังคม
            ตามร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2545 ให้ความหมายของคำว่า “สุขภาพ” คือภาวะที่มีความพร้อมสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย คือ ร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง คล่องแคล่ว มีกำลัง ไม่เป็นโรค ไม่พิการ ไม่มีอุบัติเหตุอันตราย มีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ
            ทางจิตใจ คือ มีจิตใจที่มีความสุข รื่นเริง ไม่ติดขัด มีเมตตา มีสติ มีสมาธิ
            ทางสังคม คือ มีการอยู่ร่วมกันด้วยดี มีครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมมีความยุติธรรม และทางจิตวิญญาณ คือ ความสุขที่เกิดขึ้นเมื่อทำความดีหรือจิตใจได้สัมผัสสิ่งที่มีคุณค่าอันสูงส่ง โดยทั้ง 4 ด้านนี้ จะต้องเกิดขึ้นจากการจัดการทางสุขภาพในระดับต่างๆทั้งสุขภาพในระดับของปัจเจกบุคคล (Individual Health) สุขภาพของครอบครัว (Family Health) อนามัยชุมชน (Community Health) และสุขภาพของสาธารณะ (Public Health)

ที่มา:http://we-are-healthy.exteen.com/20080206/entry
    

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

การวางแผน

1.ให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันหาว่า ในหัวข้อของเรามีอะไรบ้าง?

2.สมาชิกในกลุ่มร่วมกันอภิปรายเรื่องหัวข้อที่ได้มา

3.ไปหาข้อมูลตามที่เราวางแผนไว้

4.ถามคุณครูว่าหัวข้อที่เราได้มาถูกต้องหรือเปล่า

5.หากไม่ถูกต้องให้นำคำที่คุณครูบอกมาปรับปรุง

6.นำข้อมูลไปลงคอมพวเตอร์

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การตั้งสมมติฐาน

จากการสังเกตุในโรงพยาบาลชะอวด คาดว่า ผู้ป่วยที่เข้าโรงพยาบาลส่วนใหญ่ เกิดโรคมาจาก สภาพอากาศที่แปรปรวน เพราะ ผู้ป่วยมีอาการเป็นหวัด หรือ ภูมิแพ้ต่างๆ

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การตั้งคำถาม
1. ทำไมวัยรุ่นสมัยนี้ชอบแต่งตัวไม่เหมาะสมกับวัย แล้วไม่รู้สึกอาย?
2. ถ้าจะทำให้คนไทยยึดมั่นในวัฒนธรรมของไทย ควรทำอย่างไร?
3. สังเกตได้ว่าโรงพยาบาลชะอวดมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เกิดจากสาเหตุใดมากกว่ากัน ระหว่างการรับประทานอาหาร หรือ สภาพอากาศแปรปรวน  เพราะอะไร อย่างไร?
เลือกคำถามข้อ 3 เหตุผลที่เลือกเพราะ 
 ถ้าทุกคนกลับมาดูแลรักษาสุขภาพของตนเองมากขึ้น

จะทำให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี และไม่เป็นโรคภัยต่างๆ ตามมาในภายหลัง แล้วทุกคนจะได้ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
  

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ปัญหาเกี่ยวกับธรรมชาติ

                                                       

  1. ทำไมถึงเกิดภูเขาไฟระเบิด

2. ทำไมถึงมีลาวาออกมาหลังจากภูเขาไฟระเบิด

3. ทำไมถึงมีไฟประกายเมื่อเกิดภูเขาไฟระเบิด

4. ทำไมถึงมีไฟอยู่ในภูเขา

5. ทำไมถึงมีควันไฟออกมาหลังจากเกิดภูเขาไฟระเบิด




1. ทำไมถึงเกิดสึนามิ

2. ทำไมถึงก่อนสึนามิจะต้องมีน้ำลดลงไปอย่างรวดเร็ว

3. ทำไมถึงมีน้ำสีดำขุ่นตอนเกิดสึนามิ

4. ทำไมถึงต้องมีลมสึนามิ

5. ทำไมถึงเกิดแผ่นดินแยกก่อนเกิดสึนามิ

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

    ประวัติผู้เขียนบล็อก

ชื่อ เด็กหญิง บุษรา  ขาวนาค ชั้น ม.2/4 เลขที่19 ชื่อเล่น มีน

เกิดวันที่ จันทร์ ที่ 22 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2543 อายุ14 ปี

บิดาชื่อ นาย วิชาญ  ขาวนาค

มารดาชื่อ นางสาว จิราพร  เลื่อนจันทร์

ที่อยู่ บ้านเลขที่ 11/4 หมู่ที่6 ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

สามารถติดต่อได้ที่ เบอร์ 0808648727 หรือ ทาง Facebook  Butsara  Khaonark



ชื่อ  เด็กหญิง  วิลาวรรณ  วงค์รอด ชั้น ม.2/4 เลขที่ 29 ชื่อเล่น กิ่ง

เกิดวัน อาทิตย์ ที่ 17เดือน กันยายน พ.ศ 2543 อายุ 14 ปี

บิดาชื่อ นาย เจริญ วงค์รอด

มารดาชื่อ นาง หนูปลีก  วงค์รอด

ที่อยู่ บ้านเลขที่ 33/11 หมู่.1 ตำบล ควนหนองหงษ์ อำเภอ ชะอวด จังหวัด นครศรีธรรมราช

เบอร์โทรศัพท์ 0937933360 หรือ ทาง facebook  wilawan wongrod